ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีในการยืนยันตัวตนได้รับการพัฒนาจนมีความหลากหลาย มีรูปแบบที่มากมายหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละหน่วยงานและองค์กรต่างๆ จะเลือกนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ โดย Biometric นั้นก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนี้

บทความนี้ ทาง dIA จึงอยากจะชวนให้คุณมาทำความรู้จักกับ Biometric Technology ให้มากขึ้น ว่า Biometric Technology คืออะไร และbiometric มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างไรบ้าง

biometric

Biometric Technology คือเทคโนโลยีอะไร

Biometric Technology คือ เทคโนโลยีในการอ่านอัตลักษณ์ทางร่างกายของเรา เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า ม่านตา หรือน้ำเสียง เพื่อนำมาใช้แทนรหัสต่างๆ ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เปลี่ยนจากเดิมที่ต้องใช้ password ในการเข้ารหัส

โดยสาเหตุที่นำเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ หรือ biometric มาใช้คือ มันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความสะดวกและคล่องตัวมากกว่าเดิม เวลาจะไปชอปปิงก็ไม่ต้องพกกระเป๋าสตางค์ไป หรือเวลาจะไปต่างประเทศ ก็สามารถยืนยันตัวตนได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ Passport หาย

ไบโอเมตริกซ์

เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ Biometric Technology

เทคโนโลยีที่เราเคยใช้ในการยืนยันตัวตน ก่อนที่จะนำไบโอเมตริกซ์ หรือ biometric มาใช้คือ การยืนยันตัวตนด้วยลายเซ็น การพิมพ์ และลายนิ้วมือ แต่ในปัจจุบัน องค์กรของรัฐและบริษัทขนาดใหญ่ได้นำ biometric authentication มาใช้ นั่นคือ การวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่างของบุคคลผ่านทางกายภาพและทางพฤติกรรม โดยมีเทคโนโลยีbiometricที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

    • ทางกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ามือ ลายนิ้วมือ เส้นเลือดในฝ่ามือ  ใบหน้า ม่านตา จอตา กลิ่น และ DNA
    • ทางพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น การพิมพ์ ลายเซ็น และเสียง

อย่างไรก็ตาม Biometric Technology บางประเภทนั้น มีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่มาก แถมยังไม่เสถียร เลยไม่นิยมนำมาใช้ คือ ยกตัวอย่าง น้ำเสียง เพราะมีการปลอมแปลงได้ หรือหากเจ้าของเสียงนั้นมีอาการเจ็บป่วย เช่น เจ็บคอ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น เสียงแตกพานจากการเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ก็ทำให้เสียงแตกต่างไปจากเดิมได้ จึงไม่เป็นที่นิยมในการนำมายืนยันตัวตน โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่มีเทคโนโลยี Deepfake ซึ่งเป็นการปลอมแปลงเสียงและใบหน้าได้แล้ว

ขั้นตอนการทำงานของ biometric technology

ขั้นตอนการทำงานของ Biometric Technology

จะเห็นได้ว่า ไบโอเมตริกซ์ หรือ biometric นั้นมีหลักการทำงานไม่ต่างจากการใส่ password ลงในคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด แต่มีความสะดวกและคล่องตัวมากกว่า เพราะเราไม่ต้องจดจำข้อมูลเหล่านั้น เนื่องจากรหัสต่างๆ เป็นข้อมูลทางชีวภาพที่ติดอยู่กับเนื้อหนังของเรานั่นเอง เมื่อได้ตัวอย่าง Biometric Technology มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การนำข้อมูลมาประมวลผล โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การรวบรวมข้อมูล

สำหรับขั้นตอนในการเก็บรวบรวบข้อมูลของ Biometric Technologyก็คือ การบันทึกลักษณะทางกายภาพของเราเข้าไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา ใบหน้า หรือ น้ำเสียง ทำได้โดยการถ่ายรูป หรือใช้อุปกรณ์บันทึกเฉพาะอย่าง

การประมวลผลจากอัตลักษณ์

สำหรับขั้นตอนในการประมวลผลจากอัตลักษณ์ของ Biometric Technologyก็คือ การนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นอัลกอริทึ่มก่อนจัดเก็บข้อมูล เช่น แปลงรูปใบหน้าให้เป็นสัดส่วนของจุดและเส้นตรง ที่ทำมุมกันระหว่างตา คิ้ว จมูก ปาก และคาง เป็นต้น

การจัดเก็บข้อมูล

สำหรับขั้นตอนในการจัดเก็บข้อมูลของ Biometric Technology คือ การนำข้อมูลที่แปลงเป็นอัลกอริทึมแล้วไปจัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบ พร้อมสำหรับการค้นหาและสืบค้นข้อมูลต่อไปในอนาคต โดยปกติแล้วจะเก็บข้อมูลเอาไว้ในฐานข้อมูลขององค์กรรัฐหรือบริษัทขนาดใหญ่โดยเฉพาะ

การเปรียบเทียบอัตลักษณ์

สำหรับขั้นตอนในการเปรียบเทียบอัตลักษณ์ของ Biometric Technology คือ การนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลในฐานข้อมูล ว่ามีความถูกต้องและสอดคล้องกันหรือไม่ โดยสามารถทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

การระบุตัวตนของผู้ใช้

สำหรับการระบุตัวตนของผู้ใช้ โดย Biometric Authentication ซึ่งคือ การคีย์ข้อมูลลงไปในฐานข้อมูล เพื่อดึงข้อมูลที่มีขึ้นมา คล้ายกับการไขกุญแจหรือใช้ password โดยตรง แต่เปลี่ยนมาใช้เป็นใบหน้าหรือลายนิ้วมือแทน

การพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้

สำหรับการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้ โดย Biometric Authentication สำหรับลักษณะนี้คือ การที่ใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นมาใช้ยืนยัน ว่าผู้ใช้งานคนนั้นเป็นคนเดียวกันกับข้อมูลที่มีในฐานข้อมูล เช่น ใช้การยืนยันผ่านบัตรประชาชนประกอบกับการถ่ายรูปหรือสแกนลายนิ้วมือ

การตัดสินใจ

สำหรับขั้นตอนในการตัดสินใจของ Biometric Technologyก็คือ การที่นำข้อมูลที่ได้รับมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในฐานข้อมูล แล้วพิจารณาว่าเป็นคนคนเดียวกันหรือไม่

biometric ประโยชน์

ประโยชน์ของ Biometric Technology ที่นำมาใช้งานในด้านต่างๆ

อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า Biometric เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จึงนิยมนำไปใช้แพร่หลายในวงการด้านต่างๆ และจะยิ่งทวนความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากโครงการ Smart city หรือเมืองอัจฉริยะที่กำลังอยู่นขั้นวางแผนโครงสร้าง จะถูกนำมาสร้างในเป็นจริงในอีกไม่ช้า ซึ่ง Biometric Technology คือ คำตอบสำหรับการสร้างความปลอดภัยในสังคมของโลกอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในปัจจุบัน เราสามารถนำเทคโนโลยีBiometric มาใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

ด้านกฎหมาย

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์ทางด้านกฎหมายได้ โดยการตรวจสอบใบหน้าระหว่างเดินทางเข้าประเทศ โดยจะสามารถเป็นส่วนช่วยให้กับผู้รักษากฎหมายในการจับกุมตัวและสืบสวนการกระทำผิดทางอาญาของอาชญากรข้ามชาติได้ ซึ่ง Biometric Technology คือ คำตอบในการเพิ่มความปลอดภัยและลดอาชญากรรมระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันได้นำมาใช้ในสนามบินควบคู่กับการตรวจคนเข้าเมืองด้วย passport แล้ว

องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์กับองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ได้ โดยองค์กรต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันข้อมูลในการค้นคว้าและวิจัย ในส่วนที่เป็นส่วนความลับของบริษัทหรือของหน่วยงาน หรือใข้ในการระวังภัยในการเข้าออกบริษัท ซึ่ง Biometric Technologyก็คือ คำตอบในการสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้ว่า ข้อมูลอันมีค่าของพวกเขาจะไม่ถูกขโมยไป รวมถึงมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

ธุรกิจและอุตสาหกรรม

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์กับธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ โดยการนำข้อมูลข่าวสารมาแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กร รวมไปถึงการจ่ายเงินผ่านเครือข่ายต่างๆ ที่จะสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำไบโอเมตริกไปใช้แทนกระเป๋าสตางค์ ซึ่ง Biometric Technologyนั้นคือ คำตอบที่เพิ่มความคล่องตัวในการชำระเงิน โดยในปัจจุบัน มีหลายประเทศทั่วโลกที่ใช้การชำระเงินในรูปแบบนี้ เช่น ในประเทศจีน เราสามารถจ่ายค่าสินค้าต่างๆ ในร้านมินิมาร์ทได้ด้วยการสแกนฝ่ามือหรือในประเทศสหรัฐอเมริกา เราสามารถซื้อสินค้าในร้านไฮเปอร์มาร์ทบางแห่งได้อย่างอิสระ เพราะการชำระเงินจะทำผ่านระบบจดจำใบหน้า ซึ่งควบคุมผ่านกล้องนับพันตัวที่ติดอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วร้านค้านั่นเอง

biometric มีอะไรบ้าง

ด้านการเงินและการธนาคาร

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์ทางด้านการเงินและการธนาคาร โดยการนำข้อมูลมาใช้ในการเชื่อมต่อกับ ATM, VPNs ตลอดจนสาขาย่อยอัตโนมัติอย่าง ATM Express ซึ่ง Biometric Technologyก็คือ คำตอบในการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการและเพิ่มความน่าเชื่อถือในทางธนาคารเองด้วย ว่าสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยเป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม ไบโอเมตริกซ์ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะในปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยี Deepfake ที่สามารถจำลองภาพใบหน้าและเสียงของคนอื่นขึ้นมาได้ ผ่านการใช้งาน AI เข้ามาช่วย ซึ่งยังเป็นจุดหนึ่งที่มีความอ่อนไหวต่อการปลอมแปลงข้อมูลในการเข้าถึงทรัพย์สินที่ฝากเอาไว้กับทางธนาคาร

ด้านการศึกษา

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้ โดยการนำกล้องมาติดตั้ง เพื่อนับจำนวนเด็กนักเรียนที่ขาด ลา มาสาย หรือติดกล้องในห้องเรียน เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของดวงตา ว่าเด็กมีความสนใจกับบทเรียนหรือไม่ จึงช่วยให้ทางโรงเรียนสามารถเก็บข้อมูลของผู้เรียน เพื่อวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง ซึ่ง Biometric Technologyก็คือ คำตอบในการเรียนรู้แห่งโลกอนาคต

ด้านความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์ก

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยของระบบเน็ตเวิร์กได้ โดยองค์กรสามารถนำมาใช้ในการทำเป็นรหัสในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนของอินเทอร์เน็ตองค์กร Extranets และ VPNs เป็นต้น ซึ่ง Biometric Technologyก็คือ คำตอบในการเพิ่มความปลอดภัย ในการทำงานแบบเครือข่ายที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้

ด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล

เราสามารถนำข้อมูล Biometric มาใช้ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลได้ โดยการนำมาประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ เช่น การสแกนหน้าหรือลายนิ้วมือก่อนเปิดเครื่อง ซึ่ง Biometric Technologyก็คือ คำตอบในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานทั่วไป ว่าสามารถรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้น

Biometric Technology คือ เทคโนโลยีในการอ่านอัตลักษณ์ทางร่างกายของเรา เพื่อมาใช้แทน password มีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การประมวลผลจากอัตลักษณ์ การจัดเก็บข้อมูล การเปรียบเทียบอัตลักษณ์ และการตัดสินใจ จะเห็นได้ว่า Biometric เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งกับวงการการศึกษาและภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากองค์กรใด หน่วยงานใด ธุรกิจใด หรือแม้แต่บุคคลธรรมดา มองเห็นความสำคัญของความปลอดภัยและเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตของ Biometric Technology ซึ่งคือ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาแทนที่การเข้ารหัสแบบเดิมๆ แล้วล่ะก็ คุณเองก็สามารถนำ biometric มาใช้ เพื่อช่วยยกระดับในการรักษาความปลอดภัยให้เพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน

โดยทาง dIA เองก็พร้อมที่จะนำเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยต่างๆ ทั้งข้อมูล ทรัพย์สินของคุณและองค์กร หากคุณสนใจ สามารถติดต่อเราได้ที่ https://www.dia.co.th/solution/smart-office/